การคำนวณตัวต้านทาน(R)ให้กับ LED


ในการนำไดโอดเปล่งแสง หรือ หลอดไฟ LED ไปต่อใช้งานนั้นใช่ว่าจะนำไปต่อกับแหล่งจ่ายได้เลย ต้องระวังให้ดี!!
ไม่เช่นนั้นหลอด LED อาจเสียได้โดยง่าย

ก่อนอื่นเรามาดูข้อมูลของหลอด LED กันก่อนครับ

หลอด LED โดยทั่วไปมีการทนแรงดันได้ 3V./DC.
ทนกระแสได้โดยประมาณ 20mA

ดังนั้นเราจึงต้องใช้ตัวต้านทาน(Resistor)เพื่อดรอปกระแส(A.)และแรงดัน(V.)
จากรูปวงจรข้างต้น ถ้าเราจ่ายแรงดันให้กับวงจรมีค่า = 12V./DC.
แต่ทว่าถ้าเรานำไปต่อโดยตรงกับหลอด LED แล้วก็ต้องพังเสียหายอย่างแน่นอนดังนั้น
เราจึงต้องใช้ตัวต้านทาน(Resistor)
ดรอปกระแสและแรงดันโดยเราจะทำการเลือกค่าความต้านทานมาใส่มั่วๆก็คงไม่ได้ดังนั้นจึงต้องมาคำนวณเพื่อเลือกค่าดังนี้ครับ

จากสูตร R = E/I
E = ค่าแรงดัน มีหน่วยเป็นโวลต์ (V.)
R = ความต้านทาน มีหน่วยเป็นโอมห์ (Ohm.)
I = กระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็นแอมป์แปร (A.)
จะได้ค่า E = แรงดันไฟที่จ่าย ลบกับ แรงดันที่หลอด LED ต้องการ ( 12V. - 3V.)
ดังนั้น E = 9V.
I = กระแสไฟฟ้าที่หลอด LED ต้องการ
ดังนั้น I = 20mA. หรือ มีค่าเท่ากับ 0.02A
ส่วน R คือ ค่าที่เราต้องการหานั่นเองครับ?

ดังนั้น R = E/I
จึงได้ R = 9V. / 0.02A.
เมื่อจิ้มเครื่องคิดเลขแล้วจะได้ 450 Ohm.
แต่โดยทั่วไปแล้วตัวต้านทานค่า 450 Ohm. ไม่มี เราจึงเราใช้ค่า 470 Ohm.แทนครับ
เป็นยังไงครับเพียงง่ายๆเท่านี้เราก็สามารถคิดคำนวณได้ด้วย ตนเองแล้ว ^^


การคำนวณตัวต้านทาน(R)ให้กับ LED การคำนวณตัวต้านทาน(R)ให้กับ LED Reviewed by AkeRemake on 19:29:00 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ผูกพัน สานสัมพันธ์ อิเล็กทรอนิกส์ไทย - phukphan Electronic.. ขับเคลื่อนโดย Blogger.