ซีเนอร์ไดโอด Zener Diode คืออะไรหว่า?

จากหัวข้อเรื่องคงจะสงสัยใช่ไหม? หล่ะครับว่าเจ้า ซีเนอร์ไดโอดเนี่ยเกี่ยวข้องกับ ไดโอดอย่างไร จริงๆแล้วมันอาจจะเป็นญาติกันก็เป็นได้ ห้าๆ ว่ากันต่อครับ ซีเนอร์ไดโอด มีโครงสร้างเบื้องต้นเหมือนกับไดโอดทั่วๆไป มีขาต่อใช้งาน 2 ขาเหมือนกัน คือ ขา แอโนด A , ขา แคโทด K เช่นเดียวกัน แต่ซีเนอร์ไดโอด มีข้อแตกต่างไปจากไดโอด ตรงการนำไปใช้งาน ถ้าเป็นไดโอดแบบปกติจะต้องมีการไบอัสตรงให้กับตัวมันถึงมีการทำงานได้แต่ ทว่า ซีเนอร์ไดโอดนี้ต้องใช้แรงดันไบอัสกลับจ่ายให้ถึงมีการทำงาน แต่เดี๋ยวก่อนใช่ว่าจะจ่ายแรงดันเท่าไหร่ก็สามารถนำกระแสหรือแรงดันได้น่ะครับ นั่นขึ้นอยู่กับสเปกของซีเนอร์ด้วย โดยยกตัวอย่างเช่น เรามีซีเนอร์ไดโอดตัวนึง โดย สเปกของมัน สามารถนำกระแสได้ตั้งแต่ 12 โวลต์ ดังนั้นถ้าเราจ่ายไฟที่มีค่าน้อยกว่า 12 โวลต์ ซีเนอร์ไดโอด ก็จะไม่มีการทำงาน และถ้ามีการจ่ายไฟที่มากกว่า12 โวลต์ อย่าง 13 โวลต์ ก็จะมีการนำกระแสและแรงดันของตัวซีเนอร์ทันทีนั่นเองครับโดย สัญลักณ์ของ ซีเนอร์ไดโอดนั้นดังข้างล่างนี้เลยครับ

โดยจากภาพที่เห็นก็จะเป็นสัญลักษณ์ ซีเนอร์ไดโอด

ซีเนอร์ไดโอด Zener Diode คืออะไรหว่า? ซีเนอร์ไดโอด Zener Diode คืออะไรหว่า? Reviewed by AkeRemake on 21:36:00 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

ผูกพัน สานสัมพันธ์ อิเล็กทรอนิกส์ไทย - phukphan Electronic.. ขับเคลื่อนโดย Blogger.